ข้อมูลจังหวัดเลย
ข้อมูลจังหวัดเลย

ข้อมูลแนะนำจังหวัดเลยhttp://www.sawadee.co.th/isan/loei/images/

แม้ว่าทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเลยจะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่เลยมีหลายสิ่งที่เหมือนกับภาคเหนือคือมีทิวเขามากมาย ภูเขาสูง อากาศหนาวและมีหมอกปกคลุม เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีสถานที่อุณหภูมิของปรอทวัดได้ศูนย์องศาเซลเซียส จังหวัดเลยอยู่ห่างจากกรุงเทพเป็นระยะทาง 520 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดเลยเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสูงกระจัดกระจาย โดยเฉพาะทางตะวันตกและทางด้านใต้ของจังหวัด ทั้งนี้ยังมีแหล่งน้ำสำคัญคือแม่น้ำโขง ในบริเวณตอนบนของจังหวัด ซึ่งจังหวัดเลยมีภูมิประเทศที่แตกต่างกันถึง 3 ลักษณะอันได้แก่ จังหวัดเลยมีภูเขาส่วนใหญ่ทางตะวันตกโอบล้อมพื้นที่ อำเภอนาแห้ว อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอท่าลี่ ประชากรอาศัยอยู่น้อยในแถบนี้เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกและภูมิประเทศซึ่งมีทิวเขาอยู่มากมายนี้ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมไม่สะดวกอีกด้วย ส่วนบริเวณที่ราบต่ำรอบแม่น้ำโขงและแม่น้ำเลยซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเลย อำเภอเชียงคาน และอำเภอวังสะพุง การกสิกรรมแถบนี้อุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุดของจังหวัดเลย อาณาบริเวณที่ราบรอบๆ เนินเขาทางตะวันออกและภาคใต้ของเลยใกล้ภูกระดึง ภูหลวง ภูเก้า นาด้วงและปากชม การเกษตรกรรมสามารถทำได้มากกว่าพื้นที่อื่นๆ และมีประชากรหนาแน่นในพื้นที่นี้ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดเลยตั้งอยู่ในเทือกเขา อุณหภูมิอย่างมากเมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของประเทศไทยอาจจะร้อนมากในฤดูร้อนอุณหภูมิสูงถึง 43.3 องศาเซลเซียส (ประมาณเมษายน) ในฤดูหนาว (ประมาณเดือนธันวาคม) อุณหภูมิสามารถติดลบ 1.3 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน

ประวัติความเป็นมา

ในปี พ.ศ.2396 รัชสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า ราษฎรไทยในพื้นที่จังหวัดเลยเดิมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น น่าที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นจึงรับสั่งให้พระยาไทนามไปสำรวจพื้นที่ ซึ่งได้บริเวณหมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลยเป็นพื้นที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างเมือง พระยาไทนามจึงถวายรายงานแนะนำพื้นที่บ้านแฮ่ต่อรัชกาลที่ 4 ในการสร้างเมืองเลยขึ้นได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2440 โดยปรับปรุงโครงสร้างการบริหารในประเทศไทยทั่วประเทศแบ่งเป็นจังหวัดเขต (อำเภอ), มณฑล (ตำบล) และ บ้าน(หมู่บ้าน) ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 อำเภอกุดป่อง ซึ่งเป็นอำเภอก่อตั้งพื้นที่ปกครองในภาคพื้นที่นั้นให้เปลี่ยนเป็นเมืองเลย (จังหวัดเลย) และเปลี่ยนชื่อพื้นที่ "บริเวณลำน้ำเลย" เป็น "บริเวณลำน้ำเหือง" และต่อมายกเลิกบริเวณลำน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" จนถึงปัจจุบัน

อาณาเขต

» ทิศเหนือ : ติดต่อกับ ประเทศลาวโดยมีแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ

» ทิศใต้ : ติดต่อดับ จรดอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น อำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์

» ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอน้ำโสม อำเภอนากลางจังหวัดหนองบัวลำพู และอำเภอสีชมพูจังหวัดขอนแก่น

» ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

                                        ระยะทาง

        ระยะทางจากจังหวัดเลยไปยังจังหวัดใกล้เคียง

            จังหวัดเพชรบูรณ์    80 กม.

            จังหวัดหนองบัวลำภู  102 กม.

            จังหวัดขอนแก่น          120 กม.

            จังหวัดอุดรธานี          143 กม.

            จังหวัดหนองคาย          170 กม.

            จังหวัดพิษณุโลก          210 กม.


            ระยะทางจากอำเภอเมืองเลยไปอำเภอต่างๆ

             อำเภอเอราวัณ 5   กม.    อำเภอหนองหิน  50 กม.

             อำเภอวังสะพุง 23 กม.    อำเภอผาขาว     70 กม.

             อำเภอนาด้วง      32 กม.        อำเภอภูกระดึง   73 กม.

             อำเภอท่าลี่          47 กม.    อำเภอด่านซ้าย  82 กม.

             อำเภอเชียงคาน 47 กม.    อำเภอปากชม    90 กม.

             อำเภอภูหลวง 49 กม.    อำเภอนาแห้ว     125 กม.

             อำเภอภูเรือ         49 กม.  

การเดินทางโดยรถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงอำเภอหล่มสัก ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มเก่า อำเภอภูเรือ เข้าสู่จังหวัดเลย

เส้นทางที่ 2 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ไปจนถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูกระดึง อำเภอหนองหิน อำเภอวังสะพุง จนถึงจังหวัดเลย

เส้นทางที่ 3 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภูเขียว อำเภอชุมแพ อำเภอภูกระดึง อำเภอหนองหิน อำเภอวังสะพุง จนถึงจังหวัดเลย

โดยรถประจำทาง

มีทั้งรถโดยสารปรับอากาศและธรรมดา ขึ้นรถที่สถานีหมอชิตส่วนภาคอีสาน ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2271 0101 สำหรับรถธรรมดา และ 0 2279 4484-7 สำหรับรถปรับอากาศ

ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้วติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ www.thairoute.com ตรวจสอบตารางเวลารถประจำทาง

โดยรถไฟ

มีขบวนรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงสู่สถานีอุดรธานีและขอนแก่น แล้วต่อรถโดยสารประจำทางไปที่จังหวัดเลย 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2223 7010, 0 2223 7020 

ตรวจสอบตารางเวลารถไฟ 

โดยเครื่องบิน

บริษัทบางกอกแอร์เวย์ จำกัดเป็นผู้ให้บริการเดินทางไปจังหวัดเลย โดยมี 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2253 4004

เทศกาลและงานประเพณี

งานดอกฝ้ายบาน (Cotton Blossom or Dok Fai Ban)

จัดขึ้นช่วง : เดือนกุมภาพันธุ์

สถานที่จัดงาน : สวนสาธารณะกุดป่อง

งานเทศกาลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีระหว่างวันที่ 1-7 กุมภาพันธ์ ในวันแรกมีขบวนแห่ที่ตกแต่งด้วยผ้าฝ้ายสีสันสวยงามและนางงามดอกฝ้ายซึ่งจะแต่ละอำเภอจะมีรถขบวนแห่ที่สวยงามแตกต่างกันไปตามถนน ภายในงานมีการละเล่นความบันเทิง ร้านขายของพื้นเมืองและสิ่งของสวยงามมากมาย

งานประเพณีผีตาโขน (Phi Ta Khon Festival)

จัดขึ้นช่วง : เดือนมิถุนายน หรือเดือนกรกฎาคม

สถานที่จัดงาน : อำเภอด่านซ้าย

ประเพณีที่มีต้นกำเนิดมาจากความเชื่อด้านพุทธศาสนาจากพระเวสสันดรซึ่งเป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าได้เดิินทางกลับเมือง และบรรดาผีป่าหลายตนอาลัยในหระองค์จึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง ประเพณีผีตาโขนจัดอย่างยิ่งใหญ่โดยชายหนุ่มใส่หน้ากากแต่งกายคล้ายผีเข้าร่วมขบวนแห่พระพุทธรูปศักดิ์และร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน และพระสงฆ์เทศน์มหาชาติเพื่อรำลึกถึงชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน

งานแสดงไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ (The Phu Rua Cold Climate and Plant Fair)จัดขึ้นช่วง : เดือนธันวาคม - เดือนมกราคม

สถานที่ : อำเภอภูเรือ

ในช่วงฤดูหนาว เลยเป็นสถานที่ที่มีเสน่ห์มากไม่เพียงแค่อากาศเย็นสบายบริสุทธิ์ แต่เพราะดอกไม้และต้นไม้ที่พร้อมออกดอกสวยงามสะพรั่ง นักท่องเที่ยวหลาย คนจึงเดินทางไปจังหวัดเลยเพื่อชมความงามดอกไม้ในเวลานี้ของปี

ประเพณี/วัฒนธรรม/การท่องเที่ยว

ประเพณี/วัฒนธรรม/การท่องเที่ยวจังหวัดเลย



            1.งานไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ  เทศกาลทะเลหมอก ดอกไม้งาม บานสะพรั่งทั้งภูเรือ (งานไม้ดอกเมืองหนาว อำเภอภูเรือ) ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประมาณวันที่ 31  ธันวาคม - 3 มกราคม ของทุกปี  มีการออกร้านแสดงไม้เมืองหนาว ขบวนแห่รถบุปผชาติ การประกวดไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวงานราตรีแม่คะนิ้ง  ลีลาศโต้ ลมหนาวและการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตรของอำเภอภูเรือ


            2.งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน  จัดขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย ช่วงเดือน 8 หากปีใดเป็นอธิกมาสก็จะเลื่อนไปเดือน 8 หลังมีกาแห่ผีตาโขนในงานบุญหลวง ซึ่งเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่นการละเล่นผีตาโขนในวันแรกจะมีพิธีแห่พระอุปคุตจากลำน้ำหมันมาที่วัดโพนชัยวันที่สองมีการแห่เข้าเมืองและผู้เล่นจะนำเครื่องผีตาโขนไปโยนทิ้งแม่น้ำหมันจากนั้นเวลาค่ำจะมีการเทศน์มหาชาติถึง 13 กัณฑ์


            3.งานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย  จัดขึ้นบริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย ประมาณ    วันที่  1 - 9  กุมภาพันธ์ ของทุกปี ใ นงานจะมีขบวนแห่จากอำเภอต่างๆ การแสดงศิลปวัฒนธรรมวันแรกของงานจะมีขบวนแห่จากอำเภอต่างๆ ที่ประดับตกแต่งรถด้วยผลิตภัณฑ์จากฝ้าย ซึ่งรถแต่ละคันจะมีเทพีนั่งประดับมาด้วย ส่วนบริเวณจัดงานจะมีการออกร้านของหน่วยงานราชการต่าง ๆ การประกวดนางสาวไทเลยและมหรสพอื่นๆ อีกมากมาย


            4.งานนมัสการพระธาตุศรีสองรัก จัดขึ้นทุกๆปี ในวันเพ็ญเดือน 6  ภายในงานเริ่มจากพิธีบูชาพระธาตุโดยมีเจ้ากวน นางเทียม แสน นางแต่ง  และ ชาวบ้านจัด เครื่องเซ่น ประกอบด้วยกระทงใหญ่1กระทงและกระทงน้อย 8 กระทง พิธีจะต้องทำก่อนเพลเมื่อเสร็จพิธีก็ยกกระทงใหญ่ไปลอยน้ำส่วนกระทงน้อยยกไปบูชาตามริมวัด  เสร็จจากพิธีบูชาพระธาตุเป็นพิธีสรงธาตุโดยประชาชนเอาน้ำอบน้ำหอมใส่ขันแล้วเอาดอกไม้จุ่มซัดไปรอบๆองค์พระธาตุ  ผู้ชายให้เข้าไปในกำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุ มีเจ้ากวนเป็นหัวหน้านำสรงส่วนหญิงนำโดยนางเทียมจะสรงใส่กำแพงแก้วรอบนอกองค์พระธาตุเท่านั้น 


            5.งานประเพณีออกพรรษาที่เชียงคาน   มีกิจกรรมประเพณีที่สำคัญ อาทิ เช่น การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน  ขบวนแห่ปราสาทผึ้ง  การแข่งขันเรือยาว การไหลเรือไฟ  ผาสาดลอยเคราะห์  การแข่งขันฟุตบอลเชียงคานคัพ  การแข่งขันเรือยาว เพื่อเชื่อสัมพันธ์ไมตรีระหว่างอำเภอเชียงคาน  และเมืองชะนะคาน  แขวงเวียงจันทร์ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ มีขบวนของดีจากตำบลต่างๆจากคุ้มวัดในเขตเทศบาลตำบลเชียงคานและหมู่บ้านวัฒนธรรมในพื้นที่